FacebookPinterest

ไซโทไคนิน

หน้าที่ประเภทของกลุ่มฮอร์โมน
- การแบ่งเซลล์ แบบไมโตซีส
- การขยายตัวของเซลล์ ขนาดของแวคิลโอลในเซลล์มีขนาดใหญ่ขึ้น

หน้าที่ที่สำคัญ
- เร่งการเจริญเติบโตของพืช
- เนื้อเยื่อพืชจะถูกชักนำให้เกิดการแบ่งเซลล์ และสร้างแคลลัสขึ้นอย่างรวดเร็ว
- มีการส่งเสริมการสร้างโปรตีน
- สามารถดึงกรดอะมิโนเข้าใกล้ตัว และสร้าง DNA ทำหน้าที่ชะลอการแก่ของใบ
- ช่วยในการเคลื่อนย้ายสารอาหาร ดึงอาหารจากส่วนอื่นๆด้วย
- ช่วยให้ใบสังเคราะห์คลอโรฟีลล์ได้เพิ่มขึ้น
- ช่วยรักษาพืชผักไว้ได้นานขึ้น
- ป้องกันไม่ให้คลอโรฟีลล์ถูกทำลายได้ง่าย

ตำแหน่งที่พืชสร้างฮอร์โมนอยู่ในรูปของสารเคมี
- เอ็มบริโอ
- มีในน้ำมะพร้าว

เป็นสารกระตุ้น
- เร่งการเจริญเติบโตของพืช
- เร่งรากพืช แต่พืชยังต้องการสารอื่นช่วยด้วย
- กระตุ้นการเกิดตาด้านข้างให้เจริญเติบโตได้
- กระตุ้นเมล็ดและตาข้างให้งอกได้

เป็นสารยับยั้ง
- ในรากถ้ามีสารไซโทไคนินมากไป จะไปยับยั้งการยืดยาวของเซลล์
- ยับยั้งอัตราการหายใจของพืช

ความสัมพันธ์ระหว่างฮอร์โมนออกซิน และ ไซโทไคนิน
ถ้ามีออกซินมากเกินไปเนื้อเยื่อจะมีรากมากขึ้นแต่มีการเจริญของตาเพียงเล็กน้อย
ถ้าให้ไซโทไคนินมากเกินไปเนื้อเยื่อจะมีการเจริญของตามากและของรากน้อย