ธาตุไนโตรเจน
Description
เป็นธาตุอาหารที่เป็นส่วนประกอบที่สำคัญต่อส่วนที่เป็นสีเขียวที่มีอยู่ในต้นพืช
หรือ ที่เรียกว่าคลอโรฟิล นั่นเอง
ใบมีสีเขียว
พืชสร้างอาหารได้ดี
สะสมอาหารได้เพียงพอต่อการออกดอกและให้ผลผลิต
เพิ่มจำนวนเซลล์ได้เร็ว ส่งเสริมการเจริญทางด้านกิ่งก้าน และใบ
ธาตุไนโตรเจนปกติจะมีอยู่ในอากาศในรูปของก๊าซไนโตรเจนเป็นจำนวนมาก แต่ไนโตรเจนในอากาศในรูปของก๊าซนั้น พืชนำเอาไปใช้ประโยชน์อะไรไม่ได้ (ยกเว้นพืชตระกูลถั่วเท่านั้นที่มีระบบรากพิเศษสามารถแปรรูปก๊าซไนโตรเจนจาก อากาศเอามาใช้ประโยชน์ได้) ธาตุไนโตรเจนที่พืชทั่วๆ ไปดึงดูดขึ้นมาใช้ประโยชน์ได้นั้น จะต้องอยู่ในรูปของอนุมูลของสารประกอบ เช่น แอมโมเนียมไอออน (NH4+) และไนเทรตไอออน (No3-) ธาตุไนโตรเจนในดินที่อยู่ในรูปเหล่านี้จะมาจากการสลายตัวของสารอินทรียวัตถุ ในดินโดยจุลินทรีย์ในดินจะเป็นผู้ปลดปล่อยให้ นอกจากนั้นก็ได้มาจากการที่เราใส่ปุ๋ยเคมีลงไปในดินด้วย
พืชโดยทั่วไปมีความต้องการธาตุไนโตรเจนเป็นจำนวนมาก เป็นธาตุอาหารที่สำคัญมากในการส่งเสริมการเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วของพืชพืช ที่ได้รับไนโตรเจนอย่างเพียงพอ ใบจะมีสีเขียวสด มีความแข็งแรง โตเร็ว และทำให้พืชออกดอกและผลที่สมบูรณ์ เมื่อพืชได้รับไนโตรเจนมากๆ บางครั้งก็ทำให้เกิดผลเสียได้เหมือนกัน เช่น จะทำให้พืชอวบน้ำมาก ต้นอ่อน ล้มง่ายโรคและแมลงเข้ารบกวนทำลายได้ง่าย คุณภาพผลิตผลของพืชบางชนิดก็จะเสียไปได้ เช่น ทำให้ต้นมันไม่ลงหัว มีแป้งน้อย อ้อยจืด ส้มเปรี้ยวและมีกากมาก แต่บางพืชก็อาจทำให้คุณภาพดีขึ้น โดยเฉพาะพวกผักรับประทานใบ ถ้าได้รับไนโตรเจนมากจะอ่อน อวบน้ำ และกรอบ ทำให้มีเส้นใยน้อย และมีน้ำหนักดี แต่ผักมักจะเน่าง่ายและแมลงชอบรบกวน
พืชเมื่อขาดไนโตรเจนจะแคระแกร็น โตช้าใบเหลือง โดยเฉพาะใบล่างๆ จะแห้ง ร่วงหล่นเร็วทำให้แลดูต้นโกร๋น การออกดอกออกผลจะช้าและไม่ค่อยสมบูรณ์นัก ดินโดยทั่วๆ ไปมักจะมีไนโตรเจนไม่เพียงพอกับความต้องการของพืช ดังนั้นเวลาปลูกพืชจึงควรใส่ปุ๋ยคอกหรือปุ๋ยเคมีเพิ่มเติมให้กับพืชด้วย
1. ธาตุไนโตรเจน (N)เป็นองค์ประกอบของโปรตีน มีหน้าที่เสริมสร้างส่วนที่เจริญเติบโต ระบบการสืบพันธุ์ และระบบการหายใจของพืช มักพบตามใบอ่อน ปลายกิ่ง ช่อดอก และปลายราก มีคุณสมบัติพิเศษคือ สามารถเคลื่อนตัวจากส่วนที่แก่กว่าไปในส่วนที่อ่อนกว่าภายในพืชได้ เรียกว่า “mobile nutrient” เป็นธาตุที่พบว่าขาดอยู่บ่อยครั้งในดินที่ใช้ในการเพาะปลูก ธาตุไนโตรเจนช่วยส่งเสริมการดูดใช้ธาตุฟอสฟอรัส โพแทสเซียม แคลเซียม กำมะถัน และแมกนีเซียมถ้าขาดธาตุไนโตรเจนพืชจะแสดงลักษณะลำต้นแคระแกรน ไม่เจริญเติบโต ใบอ่อนและยอดจะมีสีเขียวจาง ใบแก่จะมีสีเหลือง หรือสีน้ำตาลไหม้ถ้าพืชดูดกินธาตุไนโตรเจนมากเกินไป จะแสดงลักษณะลำต้น ใบ สีเขียวเข้ม และใบมีขนาดใหญ่ พืชจะเก็บเกี่ยวได้ช้ากว่าปกติ ผลผลิตเมล็ดและเส้นใยต่ำ มักหักล้มง่ายจากส่วนโคนต้น มีการเฝือใบ ต้น และใบมักมีความอวบน้ำ ไม่ทนทานต่อโรคและแมลง
Pasted from http://gardenone.blogspot.com/2008/09/100.html
Method
วิธีการให้ธาตุอาหารจำพวกไนโตรเจนนี้ควรให้ครั้งละน้อย ๆ แต่ให้บ่อยครั้ง ซึ่งจะเป็นวิธีที่ประหยัดและทำให้พืชได้ใช้ประโยชน์จากธาตุไนโตรเจนได้เต็ม ที่ โดยสามารถสังเกตได้ว่าใบจะมีสีเขียวเข้มขึ้น และดอกก็จะดกขึ้นด้วย นั่นแสดงว่าเราได้ให้ธาตุไนโตรเจนในปริมาณที่เหมาะสมแล้ว
Result
Less
ใบจะเหลืองคือจะเริ่มเหลืองจากใบที่อยู่ด้านล่างก่อน แล้วก็จะลามขึ้นไปยังใบด้านบนจนถึงใบยอดอ่อนในที่สุด
หากว่าขาดธาตุไนโตรเจนติดต่อกันเป็นเวลานานๆ นอกจากจะทำให้ใบเหลืองแล้วยังทำให้ใบมีขนาดเล็ก แคระแกร็น หรือใบร่วงหมดทั้งต้นก็ได้
การเจริญเติบโตจะหยุดชะงัก และใบมีสีเหลืองซีดจากการขาดคลอโรฟิลล์ โดยเฉพาะบริเวณใบแก่ ใบอ่อนจะยังคงมีสีเขียวนานกว่า ในพืชพวกข้าวโพดและมะเขือเทศ ลำต้น ก้านใบ ผิวใบด้านล่างเปลี่ยนเป็นสีม่วงได้
ใบสีเหลือง หรือเขียวอ่อนสม่ำเสมอทั้งใบ โดยจะเกิดกับใบล่างก่อน เนื่องจากพืชสามารถเคลื่อนย้ายไนโตรเจนได้
ใบร่วงเร็ว
เจริญเติบโตช้า หรือชงักการเจริญ
1. ใบจะเหลืองผิดปกติจากใบล่างไปสู่ยอด
2. ลำต้นจะผอม กิ่งก้านลีบเล็ก และมีใบน้อย
3. พืชบางชนิดอาจจะมีลำต้นสีเหลือง หรืออาจจะมีสีชมพูเจือปนด้วย
4. ใบพืชที่มีสีเหลือง ปลายใบและขอบใบจะค่อย ๆ แห้งและลุกลามเข้ามาเรื่อย ๆ จนใบร่วงจากลำต้นก่อนกำหนด
5. พืชจะไม่เติบโต หรือโตช้ามาก
Pasted from http://www.trgreen.co.th/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=21