แสงแดด - ระยะการให้แสงแดด ความเข้มของแสงแดด และคุณภาพของแสงที่มีผลต่อกุหลาบ
ความเข้มแสงเป็นปัจจัยที่สำคัญต่อการเจริญเติบโตของต้นกุหลาบและดอกกุหลาบ ยิ่งความเข้มแสงมากก็ยิ่งเพิ่มประสิทธิภาพการสังเคราะห์แสง การสร้างตาและ แตกกิ่งก้านสาขาของต้น เมื่อขาดแสงแดดการสร้างตาดอกและตาของกิ่งกระโดงจะถูกยับยั้ง
ถ้ายิ่งความเข้มแสงมีมาก ระยะเวลาการรับแสงก็สามารถลดลงได้ ในช่วงหน้าร้อนที่แสงแดดแรงมากๆ อุณหภูมิจะสูงมากเป็นอันตรายต่อกุหลาบ เราจึงจำเป็นต้องหาแสลนบังแสงเพื่อลดความเข้มแสงลง แต่รากอาจจะไม่เจริญเติบโตเท่าที่ควร
ทางออกหนึ่งที่น่าจะนำมาใช้ได้คือการพ่นหมอกเพื่อลดอุณหภูมิ และเพิ่มความชื้นในอากาศ และไม่จำเป็นต้องหาแสลนมาบังแสง
คุณภาพของแสงก็เป็นส่วนสำคัญ โดยทั่วไปแสงแดดจะมีความยาวคลื่นแสงที่พืชใช้ได้อยู่ระหว่าง Wavelenght 400-800 nm
แสงสีแดงก็เป็นปัจจัยสำคัญของการแตกตาของกุหลาบ แสงสีแดงประกอบด้วย แสงสีแดง 2 ช่วงคือ Red (R) - 660 nm และ Far Red (FR) - 740 nm
แสงสีแดง (R) มีผลต่อการแตกตามากกว่า (FR) และ แสงสีน้ำเงิน Far Red จะมีมากในช่วงตอนเย็น คือถ้าเราให้กุหลาบโดนแต่แสงตอนเย็นอย่างเดียว การออกดอกจะลดลง
แสงแดดทั่วไปอัตราส่วนระหว่าง R:FR จะอยู่ที่ 1.3 การบังแดดหรือลดความเข้มแสงลงจะทำให้อัตราส่วนระหว่าง R:FR น้อยลง ยิ่งอัตราส่วนน้อยจะมีผลต่อการออกฮอร์โมนจิบเบอเรลลิน ทำให้เพิ่มความยาวระหว่างตามากขึ้น ก้านจะยาว และจะไปยับยั้งการแตกตาด้วย การใช้ไฟ High pressure sodium (HPS) จะเพิ่มอัตราส่วนของ R:FR อยู่ที่ 3.6 เพราะฉะนั้นยิ่งแสงมาก เข้มมาก ยิ่งดีต่อกุหลาบ แต่ต้องระวังเรื่องความร้อนที่จะมีผลตามมาด้วย ถ้าลดความร้อนได้ก็ช่วยได้มาก
ปริมาณแสงแดดและความเข้มแสงที่กุหลาบควรจะได้รับในตลอดปีขั้นต่ำสุดที่จะพอรับได้ ความเข้มแสงอยู่ที่ประมาณ 200 μmol ต่อตร.ม ใน 1 วินาที หรือประมาณ 100 วัตต์ต่อตร.ม และให้แสงอยู่ที่ราวๆ 18-20 ชั่วโมง
ซึ่งแสงแดดกลางแจ้จะอยู่ที่ 250-300 วัตต์ต่อตร.ม หรือ 600 μmol ต่อตร.ม ใน 1 วินาที หน้าหนาวในต่างประเทศเค้าจะอยู่ที่ 65 μmol เท่านั้น ส่วนของไทยจัดเต็มแดดทั้งปีครับ
ให้วางกุหลาบชิดกันในช่วงเริ่มต้นของช่วงอายุ แสงที่สะท้อนใบจากต้นข้างๆจะช่วยเพิ่มความเข้มแสงให้แก่ใบ ในขณะที่จำนวนใบยังไม่เยอะมาก
ในช่วงอายุของกุหลาบเพิ่มขึ้น ทรงพุ่มใหญ่ขึ้น ต้นเริ่มมีเงาปกคลุมมากขึ้น จำเป็นต้องวางกุหลาบขยายห่างออกไป