ความสัมพันธ์ระหว่างออกซินกับไซโทไคนินที่มีต่อพืช
ความสัมพันธ์ระหว่างออกซินกับไซโทไคนินที่มีต่อพืช ในขณะที่พืช เจริญเติบโต จะมีการเจริญทั้งยอดและราก ปริมาณของออกซินและไซโทไคนินจะมีการเปลี่ยนแปลงขึ้น ๆ ลง ๆ จากการศึกษาพบว่า ขณะที่พืชเกิดราก จากปริมาณออกซินจะสูงแต่ปริมาณไซโทไคนินจะต่ำ และขณะที่พืชเจริญทางยอด ปริมาณออกซินจะต่ำและไซโทไคนินจะสูง จึงสรุปได้ว่า อัตราส่วนของปริมาณออกซินและไซโทไคนินที่เหมาะสม จำเป็นต่อการเปลี่ยนแปลงของเนื้อเยื่อต่าง ๆ ของพืช สำหรับในการเพาะเลี้ยงเนื้อเยื่อพืช จะมีผลให้การเจริญเติบโตของเนื้อเยื่อดีกว่าการใช้ออกซินหรือไซโทไคนินเพียง อย่างเดียว บทบาทของสารสองชนิดที่มีผลร่วมกันนี้ เรียกว่า Synergistic effect การเกิดเป็นต้น ราก หรือแคลลัสของพืชแต่ละชนิด ขึ้นกับความสมดุลของปริมาณออกซิน และไซโทไคนินในอาหารที่มีต่อเนื้อเยื่อ ถ้าอัตราส่วนของออกซินต่อไซโทไคนินเหมาะสมเนื้อเยื่อจะเจริญเป็นต้นและราก ที่สมบูรณ์ แต่ถ้าอัตราส่วนออกซินต่อไซโทไคนินไม่เหมาะสมเนื้อเยื่อจะเจริญไปเป็นยอด หรือราก ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับปริมาณของออกซินและไซโทไคนินว่าสารกลุ่มใดมีมากกว่ากัน หากมีปริมาณของออกซินมากมีไซโทไคนินน้อย ทำให้อัตราส่วนออกซินต่อไซโทไคนินสูงกว่าอัตราส่วนสมดุล เนื้อเยื่อจะเจริญเป็นก้อนแคลลัสและราก ถ้ามีปริมาณออกซินน้อย แต่มีไซโทไคนินมาก ทำให้อัตราส่วนออกซินต่อไซโทไคนินต่ำกว่าอัตราส่วนสมดุล จะทำให้เนื้อเยื่อเจริญเป็นยอดมาก จึงเห็นได้ว่าความสมดุลของออกซินและไซโทไคนินมีความสำคัญมาก ในการควบคุมการเกิดยอดและรากของเนื้อเยื่อที่เลี้ยง
ที่มา คัดลอกจาก http://plantmedia.weloveshopping.com/shop/show_article.php?shopid=145117&qid=51978
หรือ http://kasetloongkim.com/modules.php?name=Forums&file=viewtopic&t=1067
การเคลื่อนที่ของออกซินในต้นพืช
จากส่วนของพืชที่มีการสังเคราะห์ ฮอร์โมนจะเคลื่อนย้ายไปสู่ส่วนอื่นๆ และมีผลกระทบต่อเนื้อเยื่อที่ได้รับฮอร์โมน การเคลื่อนที่จะถูกควบคุมอย่างดี การเคลื่อนที่ของออกซินจะเป็นแบบโพลาไรซ์ (Polarized) คือ เคลื่อนที่ไปตามยาวของลำต้นโดยไปในทิศทางใดทิศทางหนึ่งมากกว่าทิศทางตรงกัน ข้าม ซึ่งการเคลื่อนที่แบบโพลาร์ (Polar) นี้จะเกี่ยวข้องกับการเจริญและการ เปลี่ยนแปลงทางคุณภาพของพืชทั้งต้น
การเคลื่อนที่ของออกซินใน ส่วนที่อยู่เหนือดิน จะเป็นแบบโพลาร์ เบสิพีตัล (Polar Basipetal) คือ จะเคลื่อนที่จากแหล่งผลิตที่ยอดไปสู่โคนต้น ซึ่งการทดลองที่แสดงว่ามีการเคลื่อนที่แบบนี้ สามารถทำได้โดยใช้ก้อนวุ้นที่เป็นแหล่งให้ออกซินและ รับออกซิน (Donor-Receiver Agar Block) คือ ใช้ก้อนวุ้นที่มีออกซินอยู่วางบนท่อนของเนื้อเยื่อ ส่วนก้อนวุ้นอีกก้อนซึ่งทำหน้าที่รับออกซินอยู่อีกปลายหนึ่งของท่อนเนื้อ เยื่อ ออกซินจะ เคลื่อนที่จากก้อนวุ้นที่มีออกซินผ่านเนื้อ เยื่อลงไปสู่ก้อนวุ้นที่ไม่มีออกซิน ซึ่งจากวิธีการนี้สามารถคำนวณความเร็วของการเคลื่อนที่ของออกซินในเนื้อเยื่อได้ เพราะทราบความยาวของท่อนเนื้อเยื่อ ความเร็วในการเคลื่อนที่แสดงเป็นระยะทางต่อหน่วยเวลา ซึ่งความเร็วในการเคลื่อนที่ของออกซินจะประมาณ 0.5-1.5 เซนติเมตรต่อชั่วโมง
การเคลื่อนที่ของออกซินจะ เกิดแบบเบสิพีตัลก็ เมื่อท่อนเนื้อเยื่อวางอยู่ในลักษณะปกติของลักษณะทางสัณฐานวิทยาเท่านั้น คือ ก้อนวุ้นที่เป็นก้อนที่รับออกซินจะต้องอยู่ทางด้านโคนของท่อนเนื้อเยื่อ ถ้าหากกลับท่อนเนื้อเยื่อเอาด้านโคนกลับขึ้น เป็นด้านยอด การเคลื่อนที่แบบเบสิพีตัลจะลดลงทันที
อัตราการเคลื่อนที่ของสารสังเคราะห์ที่มีคุณสมบัติ ของออกซิน จะช้ากว่าการ เคลื่อนที่ของ IAA แต่ลักษณะการเคลื่อนที่ของสารสังเคราะห์ เช่น 2,4-D IBA และ NAA ก็เกิดในลักษณะโพลาร์เช่นเดียวกับสาร IAA
การเคลื่อนที่ของออกซินใน ส่วนที่อยู่เหนือดินของพืช เกิดแบบอะโครพีตัล (Acropetal) ได้บ้าง แต่น้อยมาก การเคลื่อนที่แบบโพลาร์จะ ลดลงเมื่ออายุของพืชเพิ่มมากขึ้น ในปัจจุบันยังไม่ทราบแน่ชัดว่าออกซินเคลื่อนที่ผ่านไปในส่วนใดของเนื้อเยื่ออาจจะเป็น แบบจากเซลล์หนึ่งไปยังอีกเซลล์หนึ่งเพราะการเคลื่อนที่ช้ากว่าการเคลื่อนที่ ของสารในท่ออาหาร (Phloem) ซึ่งประมาณ 10-100 เซนติเมตรต่อชั่วโมง และการเคลื่อนที่ของสารในท่ออาหารจะเป็นแบบอะโครพีตัล มากกว่า ดังนั้นออกซินจึงไม่ได้เคลื่อนที่ ในท่ออาหาร แต่การเคลื่อนที่ในรากอาจจะเป็นแบบตาม Phloem และเป็นที่เด่นชัดว่าออกซินไม่ได้เคลื่อนที่ในท่อน้ำของพืชเพราะการไหลของน้ำ จะเป็นไปในทิศทางที่ขึ้นสู่ยอด และนอกจากนั้นท่อน้ำยังเป็นเนื้อเยื่อที่ตาย แล้วไม่มีพลังงานที่จะทำให้ออกซินเคลื่อนที่ แบบโพลาร์ได้ ในกรณี ของโคลีออพไทล์ของพืชนั้นชี้ให้เห็นว่าออกซินเคลื่อนที่ผ่านเซลล์ทุกเซลล์ลงมา แต่ในกรณีของลำต้นนั้นยังไม่มีหลักฐานชี้ ให้เห็นเด่นชัดนัก แต่อาจจะเป็นไปได้ว่าโป รแคมเบียม (Procambium) และแคมเบียม (Cambium) โดยเฉพาะ ส่วนที่จะกลายเป็นท่ออาหารอาจจะเป็นทางเคลื่อนที่ของออกซิน
การเคลื่อนที่ของออกซินใน รากก็มีลักษณะเป็นโพลาร์ แต่เป็นแบบ อะโครพีตัล ซึ่งกลับกันกับกรณีของลำต้น ความเร็วของออกซินที่เคลื่อนที่ไปในรากพืช ประมาณ 1 เซนติเมตรต่อ ชั่วโมง โดยคาดว่าเกิดในส่วนของแคมเบียมและท่อ อาหารที่เกิดใหม่
การเคลื่อนที่ของออกซินเป็นกระบวน การที่ต้องใช้พลังงานโดยมีหลักฐานที่สนับสนุนดังนี้
1. การเคลื่อนที่เร็วกว่าการซึม 10 เท่า
2. เคลื่อนที่ได้ดีในสภาพที่มีออกซิเจนเท่านั้น และการเคลื่อนที่หยุดได้โดยสารบางชนิด (Inhibitor)
3. เคลื่อนที่จากบริเวณที่มีปริมาณมากไปสู่บริเวณที่มี ปริมาณน้อย (Gradient)
4. เกิด Saturation Effect ได้
การเคลื่อนที่ของไซโตไคนิน
ยังไม่มีหลักฐานว่าเคลื่อนที่อย่างไรแน่ จากการทดลองพบว่าระบบรากเป็นส่วนสำคัญในการส่งไซโตไคนินไปยังใบ และป้องกันการเสื่อมสลายของใบก่อนระยะอันสมควร เป็นหลักฐานที่สำคัญที่ชี้ให้เห็นว่า ไซโตไคนินมีการเคลื่อนที่ขึ้นสู่ยอด ยิ่งไปกว่านั้นยังพบไซโตไคนินในท่อน้ำ ซึ่งมาจากระบบรากด้วย ในทางตรงกันข้ามไซโตไคนินซึ่งพบ ที่ผลซึ่งกำลังเจริญเติบโตไม่เคลื่อนที่ไปส่วนอื่นเลย ในทำนองเดียวกันจากการศึกษากับการให้ไซ โตไคนินจากภายนอก เช่นให้ไคเนติน พบว่าจะไม่เคลื่อนย้ายเป็นเวลานาน แม้ว่าสารอื่น ๆ จะเคลื่อนย้ายออกจากจุดนี้ก็ตาม มีหลักฐานจำนวนมากชี้ให้เห็นว่าไซโตไคนินอาจจะ เคลื่อนย้ายในรูปที่รวมกับสารอื่น ๆ เช่น น้ำตาล (Ribosides หรือ glucosides) ซึ่งไซโตไคนินในรูปที่รวมกับน้ำตาล นั้นพบเสมอในท่อน้ำท่ออาหาร
ในการให้ไฃโตไคนินกับตาข้างเพื่อกำจัด Apical dominance นั้น พบว่าไซโตไคนินจะไม่เคลื่อนที่เลยเป็นระยะเวลานานมาก ในการทดลองกับ BA พบว่า BA สามารถเคลื่อนที่ ผ่านก้านใบและมีลักษณะแบบ Polar เหมือนกับออกซิน ในทุกการศึกษาพบว่า ไซโตไคนินในใบจะไม่เคลื่อนที่รวมทั้งในผลอ่อนด้วย ส่วนผลของรากในการควบคุมการเจริญเติบโตของส่วนเหนือดินอาจจะอธิบายได้ถึงไซโตไคนินที่เคลื่อนที่ในท่อน้ำ ซึ่งพบเสมอในการทดลองว่าไซโตไคนินสามารถ เคลื่อนที่จากส่วนรากไปสู่ยอด แต่การเคลื่อนที่แบบ Polar ยังไม่เป็นที่ยืนยันการเคลื่อนที่ของไซโตไคนินในพืชยังมีความขัดแย้งกันอยู่บ้าง
ที่มา http://web.agri.cmu.ac.th/hort/course/359311/PPHY10_hormone.htm