FacebookPinterest

ออกซิน

ตำแหน่งที่พืชสร้างฮอร์โมนอยู่ในรูปของสารเคมี

  • บริเวณเนื้อเยื่อเจริญปลายยอด ยอดอ่อน
  • ปลายราก
  • ตาที่กำลังเจริญในใบอ่อน
  • เอ็มบริโอ
  • ผลอ่อน
  • ปมราก

หน้าที่ที่สำคัญ และเป็นสารกระตุ้น

  • การขยายขนาดของเซลล์
  • การแบ่งเซลล์ในเนื้อเยื่อเจริญที่อยู่ระหว่างท่อน้ำและท่ออาหาร
  • กระตุ้นการแบ่งเซลล์ ซึ่งมีการกระตุ้นให้สังเคราะห์กรดนิวคลิอิก และโปรตีน
  • เป็นฮอร์โมนที่ทำให้เกิดการโค้งงอของส่วนยอดพืช
  • เร่งการขยายขนาดของเซลล์
  • กระตุ้นการสังเคราะห์สารที่เป็นองค์ประกอบของผนังเซลล์เพื่อนำไปสร้างผนังเซลล์ใหม่จากการแบ่งตัวและขยายขนาดของเซลล์
  • ทำให้ส่วนของพืชมีการเจริญเติบโตและยืดยาวขึ้น การยืดตัวของเซลล์
  • เร่งการเจริญเติบโตทุกส่วนของพืช
  • กระตุ้นการเกิดราก
  • กระตุ้นการเจริญของราก
  • มีอิทธิพลต่อการเจริญของตาข้าง
  • ควบคุมการเจริญและชะลอการหลุดร่วงของใบ
  • ส่งเสริมการออกดอก เปลี่ยนเพศดอก
  • เพิ่มการติดผล ควบคุมการพัฒนาของผล
  • ควบคุมการสุก แก่ และการร่วงหล่นของผล

เป็นสารยับยั้ง ถ้าให้ในปริมาณมากเกินไป

  • การเจริญเติบโตของตาข้าง ซึ่งออกซินในพืชสร้างขึ้นที่ปลายยอดและเคลื่อนที่ไปสู่ส่วนต่างๆ
  • การเจริญของตาข้างมิให้ออกกิ่ง
  • ป้องกันการร่วงของใบ และผล เพื่อไม่ให้ร่วงก่อนการเก็บเกี่ยว เป็นการเพิ่มการติดผล และขยายขนาดของผล
  • เป็นสารกำจัดวัชพืช ยับยั้งการเจริญเติบโต

การทำงานของออกซินขึ้นกับสิ่งเร้าต่างๆ เช่น แสง อุณหภูมิ
กรดอินโดล -3- อะซิติก: ไอ.เอ.เอ (Indole-3-acetic acid:IAA) เป็นออกซินที่พืชสร้างได้เองตามธรรมชาติจากกรดอะมิโนทรบโทเฟน (Tryptophan)