FacebookPinterest

การเกิดกิ่งกระโดงของกุหลาบ

กิ่งกระโดง คือกิ่งที่เกิดจากตาที่แตกใหม่ ณ ตำแหน่งด้านล่างสุดตรงที่ติดตา จะมีขนาดกิ่งที่ใหญ่ ในกุหลาบโดยส่วนมากจะเกิดปีละครั้ง ถึงสองครั้งในช่วงต้นฤดูการเจริญเติบโตในแต่ละปี เพื่อแทนที่พุ่มที่เริ่มจะทรุดโทรมและเพิ่มประสิทธิภาพในการออกดอกและขยายพันธุ์

มีการทดลองเร่งการแตกกิ่งกระโดงมากมาย และมีขั้นตอนที่น่าจะเชื่อได้ว่ามีผลต่อการแตกกิ่งกระโดงดังนี้

  1. ลดการให้น้ำประมาณ 10 วันก่อนตัดแต่งกิ่ง เพื่อกระตุ้นให้ต้นไม้ปรับสภาพให้ต้นไม้อยู่ในระยะที่ต้องรีบขยายพันธุ์ ให้ลองสังเกตุว่าก่อนเริ่มฤดูฝนที่ต้นไม้ประสบกับความแห้งแล้ง และเรามีการตัดแต่งกิ่งหนักในช่วงต้นฤดูฝนซึ่งเป็นฤดูการเจริญเติบโตที่เหมาะสมกับกุหลาบ จะเกิดกิ่งกระโดงขึ้นในเปอร์เซ็นที่สูง
  2. ให้ตัดแต่งกิ่งให้สั้นลง ให้เหลือประมาณ 28 นิ้ว เพื่อกระตุ้นการเกิดตาและสร้างกิ่งใหม่ โดยสันนิษฐานว่าจะทำให้แสงแดดส่องถึงตำแหน่งด้านล่างที่ติดตา ซึ่งแสงแดดมีผลต่อการเจริญเติบโต
  3. การตัดกิ่งให้สั้นลงทำให้ไปลดฮอร์โมน auxin ที่อยู่ปลายยอด ทำให้ความสมดุลระหว่าง cytokinin กับ auxin ต่างกันโดย cytokinin ที่ควบคุมการเจริญของกิ่งก้าน และการเกิดตาใหม่ มีปริมาณ cytokinin ที่สูงขึ้น
  4. สันนิษฐานอีกข้อหนึ่งของการตัดกิ่งให้สั้นลงคือ ฮอร์โมน ABA ที่เป็นสารยับยั้งการเจริญเติบโตมักจะอยู่ที่โคนของกิ่ง ถ้ายอดกิ่งถูกตัดออกไป ต้นจะสร้างสมดุลโดยลด ABA ลง
  5. ตัดกิ่งแก่ที่ฐานติดตาทิ้งไปบ้าง ส่วนใหญ่จะมีการจำกัดจำนวนของกิ่งกระโดงต่อต้น ซึ่งจะแล้วแต่พันธุ์ด้วย อันนี้เค้าจะให้มีความสมดุลระหว่างปริมาณรากที่หาอาหารกับจำนวนกิ่งกระโดง และความสูงของกิ่งกระโดง ถ้ากิ่งกระโดงหายที่แก่หายไป รากจะมีการตอบสนองต่อการสร้างกิ่งใหม่ โดยที่การเกิดกิ่งกระโดงจะได้รับฮอร์โมน cytokinin จากรากมาควบคุมการสร้างตาให้เป็นกิ่งกระโดงใหม่
  6. มีการทดลองโดยป้ายฮอร์โมน 2,3,5-triiodobenzoic acid หรือสารTIBA ป้ายที่กิ่งกระโดงประมาณ 2 กิ่งในระยะ 6 นิ้วนับจากจุดที่ติดตาขึ้นไป  สาร TIBA ซึ่งเป็นสารกลุ่ม auxin ซึ่งเป็นสาเหตุให้เกิดการยับยั้งการเกิดยอดใหม่ด้านบนสุดของต้น และการสร้างตาด้านข้างของกิ่ง แต่เนื่องจากกิ่งกระโดงทั้งหลายถูกตัดให้สั้นลงไปมาก การแตกตาข้างไม่เกิด ผลสุดท้ายในการอยู่รอดของต้นไม้ ก็คือการแตกกิ่งกระโดงนั่นเอง กิ่งกระโดงที่ทำการทดลองจะเกิดขึ้นประมาณ 30 วันนับตั้งแต่การใช้สาร TIBA
  7. ปริมาณแสงแดดมีผลต่อการแตกกิ่งกระโดงมาก
Tags: