FacebookPinterest

ธาตุซัลเฟอร์

ธาตุซัลเฟอร์ หรือ กำมะถัน พืชใช้ธาตุกำมะถันในการสร้างโปรตีนจากกรดอะมิโน 3 ชนิด ที่มีกำมะถันเป็นส่วนประกอบคือ ซีสทีน (cytine) ซีสเทอิน (cytein) และเมไธโอนิน (methionine) พบว่า 7.2 เปอร์เซ็นต์ของธาตุกำมะถันที่พบในพืชอยู่ในกรดซีสทีน ธาตุกำมะถันช่วยพืชตระกูลถั่วให้สร้างปมขนาดใหญ่ที่มีประสิทธิภาพในการตรึงก๊าซไนโตรเจนจากอากาศ เป็นส่วนสำคัญของโอเอนไซม์ เอ (coenzyme A) วิตามินไทอามีน (thiamine) และไปโอติน (biotin)

          กำมะถันมีความจำเป็นต่อการสร้างโปรตีนพืช เป็นองค์ประกอบของวิตามินบางตัวที่มีผลทางอ้อมต่อการสร้างสีเขียวของพืช ซึ่งจะช่วยให้เกิดการหายใจและการปรุงอาหารพืช

         พืชที่ขาดกำมะถันจะมีเสียเขียวอ่อน หรือเหลืองคล้าย ๆ อาการขาดไนโตรเจน ใบขนาดเล็กลง ยอดของพืชจะชะงักการเจริญเติบโต ลำต้นและกิ่งก้านลีบเล็ก อาการขาดธาตุกำมะถันจะมีอาการแตกต่างจากขาดธาตุ ไนโตรเจน คือจะปรากฏที่ยอดอ่อนก่อน ส่วนใบล่างยังคงปกติ ถ้าอาการรุนแรงใบล่างก็จะมีอาการด้วยเช่นกัน ซึ่งจะตรงข้ามกับอาการของการขาดไนโตรเจน จะแสดงอาการที่ใบล่างก่อน

          ดินที่มักพบเสมอว่าขาดธาตุกำมะถันคือ ดินทราย ซึ่งมีอินทรีย์วัตถุน้อย การเพิ่มกำมะถันในดิน นอกจากจะมีการใส่กำมะถันผงโดยตรงแล้ว การใส่ปุ๋ยคอก ปุ๋ยหมัก หรือปุ๋ยพืชสด ก็เป็นวิธีการแก้ปัญหาการขาดธาตุกำมะถันในดินได้เช่นกัน

          แต่ข้อควรระวังในการใส่กำมะถันก็คืน หากใส่มากเกินความจำเป็นจะทำให้ดินเป็นกรดได้