FacebookPinterest

ธาตุฟอสฟอรัส

Description
เป็นธาตุอาหารที่มีความสำคัญต่อการเจริญเติบโตของรากพืช โดยธาตุฟอสฟอรัสจะช่วยให้รากของพืชแข็งแรง และแผ่กระจายได้รวดเร็วขึ้น ซึ่งจะส่งผลให้ลำต้นแข็งแรงตามไปด้วย
ปกติแล้วธาตุฟอสฟอรัสจะมีอยู่ในดินมากพออยู่แล้ว เป็นธาตุที่ไม่ค่อยเคลื่อนที่ในดินหรือละลายน้ำได้ยากซึ่งจะทำให้พืชดูดเอา ไปใช้ได้ยากด้วย แม้แต่ปุ๋ยที่ใส่ลงไปในดินโดยตรงก็ประมาณกันไว้ว่า 80-90 % ของธาตุฟอสฟอรัสทั้งหมดนั้นจะถูกดินยึดไว้โดยการทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุต่าง ๆ ในดิน ดังนั้น

ธาตุฟอสฟอรัสในดินมีกำเนิดมาจากการสลายตัวผุพังของแร่บางชนิดในดิน การสลายตัวของสารอินทรียวัตถุในดินก็จะสามารถปลดปล่อยฟอสฟอรัสออกมาเป็น ประโยชน์ต่อพืชที่ปลูกได้เช่นเดียวกับไนโตรเจน ดังนั้น การใช้ปุ๋ยคอกนอกจากจะได้ธาตุไนโตรเจนแล้วก็ยังได้ฟอสฟอรัสอีกด้วย ธาตุฟอสฟอรัสในดินที่จะเป็นประโยชน์ต่อพืชได้จะต้องอยู่ในรูปของอนุมูลของ สารประกอบที่เรียกว่า ฟอสเฟตไอออน (H2PO4- และ HPO4-) ซึ่งจะต้องละลายอยู่ในน้ำในดิน สารประกอบของฟอสฟอรัสในดินมีอยู่เป็นจำนวนมากแต่ส่วนใหญ่ละลายน้ำยาก ดังนั้นจึงมักจะมีปัญหาเสมอว่าดินถึงแม้จะมีฟอสฟอรัสมากก็จริงแต่พืชก็ยัง ขาดฟอสฟอรัส เพราะส่วนใหญ่อยู่ในรูปที่ละลายน้ำยากนั่นเอง นอกจากนั้นแร่ธาตุต่างๆ  ในดินชอบที่จะทำปฏิกิริยากับอนุมูลฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้ ดังนั้นปุ๋ยฟอสเฟตที่ละลายน้ำได้เมื่อใส่ลงไปในดินประมาณ ๘๐-๙๐% จะทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุในดินกลายเป็นสารประกอบที่ละลายน้ำยากไม่อาจเป็น ประโยชน์ต่อพืชได้ ดังนั้นการใส่ปุ๋ยฟอสเฟตจึงไม่ควรคลุกเคล้าให้เข้ากับดินเพราะยิ่งจะทำให้ ปุ๋ยทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุต่างๆ ในดินได้เร็วยิ่งขึ้น แต่ควรจะใส่แบบเป็นจุดหรือโรยเป็นแถบให้ลึกลงไปในดินในบริเวณรากของพืชปุ๋ย ฟอสเฟตนี้ถึงแม้จะอยู่ใกล้ชิดกับรากก็จะไม่เป็นอันตรายแก่รากแต่อย่างใด ปุ๋ยคอกจะช่วยป้องกันไม่ให้ปุ๋ยฟอสเฟตทำปฏิกิริยากับแร่ธาตุในดินและสูญเสีย ความเป็นประโยชน์ต่อพืชเร็วจนเกินไป
          พืชเมื่อขาดฟอสฟอรัสจะมีต้นแคระแกร็นใบมีสีเขียวคล้ำ ใบล่างๆ จะมีสีม่วงตามบริเวณขอบใบ รากของพืชชะงักการเจริญเติบโต พืชไม่ออกดอกและผล พืชที่ได้รับฟอสฟอรัสอย่างเพียงพอจะมีระบบรากที่แข็งแรงแพร่กระจายอยู่ในดิน อย่างกว้างขวาง สามารถดึงดูดน้ำและธาตุอาหารได้ดี การออกดอกออกผลจะเร็วขึ้น
2. ธาตุฟอสฟอรัส (P)ช่วยในการสังเคราะห์แสง สร้างแป้งและน้ำตาล เป็นส่วนประกอบของเอนไซม์ที่สำคัญหลายชนิด ช่วยเสริมสร้างส่วนที่เป็นดอก การผสมเกสร ตลอดจนการติดเมล็ด สร้างระบบรากให้แข็งแรง ช่วยในการแตกกอ และช่วยให้ลำต้นแข็งแรงไม่ล้มง่าย ช่วยให้พืชดูดใช้ธาตุไนโตรเจนและโมลิบดีนัมได้ดีขึ้นธาตุนี้มักพบในรูปที่ พืชไม่สามารถดูดไปใช้ได้ เนื่องจากจะถูกตรึงอยู่ในดิน ส่วนใหญ่พืชจะแสดงอาการขาดธาตุนี้บ่อยครั้ง แม้ว่าในดินที่มีธาตุฟอสฟอรัสอยู่เป็นจำนวนมากก็ตามถ้าขาดธาตุฟอสฟอรัสราก พืชจะไม่เจริญ มีรากฝอยน้อย ต้นเตี้ย ใบและต้นมีสีเข้มและบางครั้งมีสีม่วงหรือแดงเกิดขึ้น พืชแก่ช้ากว่าปกติ เช่น การผลิดอก ออกผลช้า มีการแตกกอน้อย การติดเมล็ดน้อย หรือบางครั้งไม่ติดเมล็ด

Pasted from http://gardenone.blogspot.com/2008/09/100.html

Method
นิยมใส่ธาตุฟอสฟอรัสผสมกับดินในขั้นตอนการเตรียมหลุมปลูกเพื่อเร่งให้ราก เติบโตและตั้งตัวได้ไวขึ้น
   การใส่ธาตุฟอสฟอรัสควจะใส่ให้ตรงบริเวณก้นหลุมตามแนวปลายราก เพื่อทำให้พืชสามารถดูดซับไปใช้ได้โดยตรง

Result
Less
สำหรับพืชที่ไม่ได้รับธาตุฟอสฟอรัสที่เพียงพอสามารถสังเกตได้ คือ
• ลำต้นจะแคระแกร็นผิดปกติ
• อีกอย่างคือใบข้างล่างจะเป็นสีเขียวคล้ำจนออกเป็นสีเทาและมีสีม่วงตามขอบ ใบ
• ขอบใบจะใหม้
• พืช​จะ​แคระ​แกร็น​และ​มีสี​เขียวเข้ม​ ​มีการสะสมสารสีของแอนโทไซยานิน​ ​อาการขาดเบื้องต้น​จะ​เกิด​ใน​ใบแก่​และ​ทำ​ห้พืชแก่ช้า
• ใบมีสีเขียวเข้ม
• พืชตระกูลถั่วตรึงไนโตรเจนได้น้อย
• เกิดการสะสม anthocyanin ในพืชบางชนิด
• พืชโตช้า
• พืชจะชะงักการเจริญเติบโต ต้นแคระแกรน พืชบางชนิดอาจจะมีลำต้นบิดเป็นเกลียว เนื้อไม้จะแข็ง แต่เปราะและหักง่าย
• รากจะเจริญเติบธตและแพร่กระจายลงในดินช้างกว่าที่ควร ดอกและผลที่ออกมาไม่สมบูรณ์ หรือบางครั้งอาจหลุดร่วงไป หรืออาจมีขนาดเล็ก
• พืชจำนวกลำต้นอวบน้ำหรือลำต้นอ่อน ๆ จะล้มง่าย
• ใบแก่จะเปลี่ยนสีหรือพืชบางชนิดใบจะเป็นสีม่วง
• อาการจะเกิดขึ้นกับใบล่าง ๆ ของต้นขึ้นไปหายอด

Pasted from http://www.trgreen.co.th/index.php?lay=show&ac=article&Ntype=21

More
รากเจริญอย่างรวดเร็ดในขณะที่ส่วนเหนือดินโตช้า
อาจทำให้พืชขาดธาตุชนิดอื่น โดยเฉพาะเมื่อสารประกอบฟอสฟอรัสของธาตุนั้นละลายน้ำได้น้อยเช่น Zn

Pasted from http://topicstock.pantip.com/jatujak/topicstock/2010/01/J8814735/J8814735.html