โรคราแป้ง
โรคราแป้ง หรือโรงใบพอง สาเหตุเกิดจากเชื้อรา Sphaerotheca pannosa เป็นโรคที่พบในแปลงกุหลาบทั่วไป
ลักษณะอาการ
- ส่วนมากเกิดกับใบอ่อน ยอดอ่อน และดอกอ่อน
- ใบ: เริ่มแรกผิวใบด้านบนจะมีลักษณะนูน อวบน้ำเล็กน้อย บริเวณนั้นจะมีสีแดงและจะสังเกตเห็นเส้นใยขุยและอับสปอร์สีขาวเด่นชัดบนผิว และท้องใบของใบอ่อน
- ใบ: ใบอ่อนใบจะบิดเบี้ยว หงิกงอและปกคลุมด้วยผงสีขาวคล้ายผงแป้ง ส่วนใบแก่อาจไม่เสียรูปแต่จะมีราแป้งเป็นวงกลม
- ใบ: ถ้าเป็นมากตรงที่เกิดอาการจะมีสีม่วงถึงดำ
- ใบ: ใบจะร่วงจากต้น
- กิ่ง: เชื้อราแป้งจะเริ่มเจริญบนกิ่งอ่อนอวบน้ำ โดยเฉพาะบริเวณโคนของหนาม เชื้อจะยังคงเจริญต่อไปเมื่อเป็นกิ่งแก่
- ดอก: เชื้อราเข้าทำลายดอก คอดอก กลีบเลี้ยง และฐานดอก ดอกตูมจะมีรูปร่างบิดเบี้ยวและไม่บาน หรือบานแต่ดอกไม่สมบูรณ์เสียรูปทรง
สาเหตุ และการระบาด
- แพร่กระจายด้วยการแพร่สปอร์ปลิวไปตามลม
- พบในพื้นที่ปลูกที่มีอากาศหนาวเย็น
- ที่ที่น้ำค้างลงจัด
- กลางคืนความชื้นสัมพัทธ์ที่ 90-99% และกลางวันที่ 40-70% เชื้อราจะเกิดภายใน 3-6 วัน
- ราแป้งจะเป็นอันตรายมากถ้าผู้ปลูกเลี้ยงให้ปุ๋ยไนโตรเจนมากจนเกินไปในระยะที่อากาศหนาวเย็น
การป้องกัน
- ใช้สารเคมีทุก 7 วันเมื่อความชื้นเข้าเกณฑ์ ในวันถัดไปพ่นด้วยกำมะถันผง
- ใช้สารเคมีทุก 3 ครั้งทุก 4-7 วันเมื่อพบ
- ใช้สารเคมีต่างกลุ่มสลับกันทุกๆ 3 ครั้ง
- ยาที่ใช้ได้ผล: เบนเลท, ดาโคนิล, คาราเทน, กำมะถันผง, โดดีมอร์ฟ อะซีเตท, ไตรดีมอร์ฟ, ไตรโฟรีน, เฮกซาโคนาโซล, ไพราโซฟอส
- กำจัดใบและนำไปเผาทำลาย
- เมื่อเจอจะต้องใช้สารเคมีควบคุมทันที เพราะถ้าช้าไป 1 วันเชื้อจะกระจายออกไปอย่างรวดเร็ว
Note: การลดความชื้นทำด้วยการใช้พัดลม หรือการระบายอากาศ หรือโดยการให้ความร้อนและระบายอากาศ