FacebookPinterest

ปุ๋ยชีวภาพ

ปุ๋ยชีวภาพ หรือน้ำสกัดชีวภาพ หรือจะเรียกว่าปุ๋ยจุลินทรีย์ก็ได้ เป็นการผลิตอินทรีย์สารจากจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ โดยการสร้างสภาพแวดล้อมให้เหมาะสมกับการเพิ่มตัวของจุลินทรีย์ ทั้งในสภาวะที่เป็นการหมักลงดินหรือหมักเป็นน้ำสกัด เราให้อาหารจุลินทรีย์โดยการเพิ่มความหวานของน้ำตาล ความหวานของน้ำตาลยังเป็นสารที่ดูดเอาน้ำเลี้ยงในต้นพืชออกมาและเกิดการหมักขึ้น น้ำเลี้ยงนี้เป็นส่วนสำคัญประกอบไปด้วย เอนไซม์ ฮอร์โมนพืช และวิตามิน หลังจากนั้นจุลินทรีย์ก็จะค่อยๆย่อยของสดให้สลายตัวเป็นสารอินทรีย์ รวมถึงจุลินทรีย์เองก็จะผลิดสารอินทรีย์เพิ่มเข้าไปในสารละลายด้วย

กลุ่มจุลินทรีย์ที่ได้
1. กลุ่มแบคทีเรีย - bacillus, lactobacillus และ coccus
2. กลุ่มเชื้อรา - aspergillus niger, pennicilum และ พ้รผนยีห
3. กลุ่มยีสต์ - canida

ประโยชน์
ในน้ำสกัดชีวภาพประกอบด้วยสารอินทรีย์ต่างๆ เช่น เอนไซม์ ฮอร์โมนพืช กรดอะมิโน และธาตุอาหารต่างๆ
เอนไซม์บางชนิดจะทำหน้าที่ย่อยสลายอินทรียวัตถุให้เป็นสารอินทรีย์เป็นอาหารของจุลินทรีย์ และเป็นอาหารของต้นพืช
ฮอร์โมนที่จุลินทรีย์สร้างขึ้นก็เป็นประโยชน์ต่อพืชถ้าให้ในปริมาณน้อย (ถ้าให้เยอะไปจะเป็นโทษ)
สารอินทรีย์บางชนิดสร้างขึ้นเป็นสารเพิ่มความต้านทานให้แก่พืช ทนต่อโรคและแมลง ทนต่อสภาพแวดล้อม

การผลิตน้ำสกัดชีวภาพ
น้ำสกัดชีวภาพ คือน้ำที่ได้จากการหมักดองของพืชอวบน้ำ เช่น ผัก ผลไม้ทั้งแก่และอ่อน รวมทั้งเปลือกผลไม้อวบน้ำที่สดไม่เน่าเปื่อย เช่น เปลือกแตงโม เปลือกสับปะรด เปลือกขนุน เปลือกมะม่วง หมักด้วยน้ำตาลในสภาพไร้อากาศ น้ำที่ได้รับจะประกอบด้วยจุลินทรีย์หลากหลายชนิด ส่วนใหญ่จะเป็นพวกยีสท์ แบคทีเรียสร้างกรดแลกติก และพวกแบคทีเรียสังเคราะห์แสงก็เคยพบในน้ำสกัดชีวภาพ

อุปกรณ์ที่สำคัญในการทำน้ำสกัดชีวภาพคือ
1. กากน้ำตาลที่เป็นอาหารของจุลินทรีย์ อาจใช้น้ำมะพร้าวแทน กากน้ำตาลในกรุงเทพ หาซื้อได้ตามร้านขายอุปกรณ์ปุ๋ย ต้นไม้
2. หัวเชื้อจุลินทรีย์ จะทำเอง หรือ ซื้อเอาก็ได้ครับ โดยปกติกระบวนการย่อยสลายใน ผัก ผลไม้ และสัตว์ จะเกิดจุลินทรีย์อยู่แล้ว เพียงแต่จุลินทรีย์มีหลากหลายชนิดมาก อาจจะได้จุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ไม่ตรงกับที่ต้องการ เราก็มักจะไปซื้อหัวเชื้อจุลินทรีย์ที่เป็นประโยชน์สำหรับพืชมาใส่เพิ่มเข้าไปอีกทีนึง
3. ส่วนต่างๆของพืช ผัก ผลไม้ เนื้อสัตว์ เป็นตัวแปรสำคัญในการผลิต ที่มีสูตรปริมาณธาตุอาหาร N:P:K แตกต่างกันออกไป

มีการคิดรูปแบบในการผลิตปุ๋ยจุลินทรีย์มากมาย ขึ้นอยู่กับชนิดของวัตถุดิบ เราพอจะแบ่งรูปแบบการผลิตเป็น 7 รูปแบบได้แก่
1. จุลินทรีย์ในพื้นที่ (Indigenous Micro-organism: IMO)
2. น้ำหวานหมักจากพืชสีเขียว (Fermented Plant Juice: FPJ) นิยมนำไปใช้บำรุงต้น
3. น้ำหวานหมักจากผลไม้ (Fermented Fruit Juice: FFJ) นิยมนำไปใช้ช่วงระยะติดดอก ถึงช่วงระยะออกผล
4. น้ำหวานหมักจากเศษปลาสด (Fish Amino Acid: FAA) นิยมนำไปใช้ช่วงระยะติดดอก ถึงช่วงระยะออกผล
5. ซีรั่มของจุลินทรีย์ในกรดน้ำนม (Lactic Acid Bacteria Serum: LAS)
6. น้ำส้มสายชูหมักจากข้าวกล้อง (Brown Rice Vinegar: BRV)
7. สารสกัดจากสมุนไพร (Oriental Herbal Nutrient: OHN)

ขั้นตอนการทำ
1. ใช้พืช ผัก ผลไม้ ผสมกับกากน้ำตาลในอัตรา 3:1
2. ใช้ของหนักกดทับให้พืชผล จมอยู่ในน้ำตลอด
3. ปิดฝาถังให้สนิท เป็นการสร้างสภาพที่เหมาะสมให้แก่จุลินทรีย์ คนหรือเขย่าบ่อยๆ
4. ทิ้งไว้ 3-5 วัน จากการละลายตัวของน้ำตาลและน้ำเลี้ยงจากเซลล์ของพืชผักน้ำตาล และ น้ำเลี้ยงเป็นอาหารของจุลินทรีย์ จำนวนจุลินทรีย์ก็จะเพิ่มประมาณมากขึ้น จุลินทรีย์จะผลิตสารอินทรีย์หลากหลายชนิด ของเหลวที่ได้เรียกว่า น้ำกสัดชีวภาพ
5. ลักษณะที่เห็นระหว่างการหมัก:
5.1 มีฟองเกิดขึ้นถือว่าดี หมดฟองแล้วนำไปใช้ได้
5.2 ฝ้าที่ลอยอยู่ที่ผิวหน้าคือจุลินทรีย์ที่ตายแล้ว คนหรือเขย่าให้จมลงเป็นอาหารจุลินทรีย์ที่ยังไม่ตาย
5.3 ประกายระยิบระยับที่ผิวหน้า คือ "ฮิวมัส" เป็นธาตุอาหารที่มีประโยชน์ต่อพืช

6. หมักต่อประมาณ 10-14 วัน หรือมากกว่านั้น ค่อยนำไปใช้ น้ำสกัดจะมีสภาพเป็นกรด ยิ่งทิ้งไว้นานสภาพความเป็นกรดจะลดลงไปเอง ควรเปิดฝาทุกวันเพื่อลดก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ที่เกิดขึ้น
7. พยายามกดให้ส่วนผสมจมอยู่ใต้กากน้ำตาลเสมอ

การผลิตหัวเชื้อจุลินทรีย์
จุลินทรีย์ธรรมชาติมีในเปลือก ตา แกนจุกสับปะรด แกนต้นปรง ผักปรัง เหง้าหญ้า เนื้อผลไม้รสหวาน
องค์ประกอบ
สับประรด 2 ลูก
น้ำสะอาด 20 ลิตร
กากน้ำตาล 5 กิโล
วิธีทำหัวเชื้อจุลินทรีย์
1. หั้นสับประรดเป็นชิ้นเล็กๆ ใส่ถังหมัก
2. เติมน้ำสะอาด กากน้ำตาล คนส่วนผสมให้เข้ากัน ปิดฝาให้สนิท
3. หมักทิ้งไว้อย่างน้อย 7 วัน
4. คนส่วนผสมระหว่างการหมักทุกวัน

การใช้น้ำสกัดชีวภาพอย่างมีประสิทธิภาพ
1. น้ำสกัดชีวภาพมีความเข้มข้นของสารละลายสูง EC เกิน 40 s/m และเป็นกรดจัด ก่อนน้ำไปใช้ต้องปรับสภาพความเป็นกรดเป็นด่างให้เป็นกลางก่อน แล้วไปละลายน้ำอัตรา 30-50 cc/น้ำ 20 ลิตร บางคนลองเริ่มใช้ 1-20 cc/น้ำ 20 ลิตรก่อนเพื่อให้แน่ใจเพราะถ้าให้ในอัตราเข้มข้นเกินไปจะทำให้ใบพืชไหม้
2. การหมักต้องใช้เวลา จนแน่ใจ่าจุลินทรีย์ย่อยสลายอินทรีย์สารสมบูรณ์แล้ว จึงจะเป็นประโยชน์สูงสุด
3. การที่ธาตุอาหารที่มีเกือบทุกชนิดแต่มีในปริมาณที่ต่ำ เราก็ควรใส่ปุ่ยอินทรีย์ หรือปุ๋ยเคมีเสริมเข้าไป การให้น้ำสกัดชีวภาพแทนการให้ปุ๋ยเคมี หรือปุ๋ยอินทรีย์เพียงอย่างเดียว ไม่อาจทำให้ต้นไม้มีการเจริญเติบโตแต่อย่างใดครับ
4. น้ำสกัดชีวภาพแต่ละสูตรมี ฮอร์โมนพืช ในระดับที่แตกต่างกันขึ้นอยู่กับวัตถุดิบ
มีฮอร์โมนในกลุ่มฮ๊อกซิน ได้แก่

  • อินโดลอะซิติกแอซิด (IAA) -> เร่งยอด, กระตุ้นการเกิดรากของกิ่งปักชำ
  • จิบเบอเรลลิน (GA3) -> ช่วยทำลายการพักตัวของเมล็ด, กระตุ้นการเจริญเติบโตของลำต้น, ส่งเสริมการออกดอก ทำให้ช่อดอกยืดยาว

และมีฮอร์โมนในกลุ่มไซโตไคนินได้แก่

  • เซติน (Zeatin) -> -> กระตุ้นการเกิดตา, ช่วยเคลือนย้ายอาหารในต้นพืช, ช่วยให้พืชผักมีความสดนานขึ้น
  • ไคเนติน(Kinetin) -> กระตุ้นการเกิดตา, ช่วยเคลือนย้ายอาหารในต้นพืช, ช่วยให้พืชผักมีความสดนานขึ้น

5. การให้น้ำสกัดชีวภาพมากเกินไป หรือเข้มข้นเกินไป เป็นอันตรายต่อพืช ทำให้ดินเป็นกรด และอาจได้จุลินทรีย์ที่ไม่มีประโยชน์จำนวนมาก ควรผสมให้เจือจาง ให้คราวละ 4-7 วัน