FacebookPinterest

โรคใบจุดสีดำ

โรคใบจุดเกิดจากเชื้อรา Diplorcarpon rosae เกิดได้ในเขตที่มีอากาศร้อน ชื้น เกิดได้ตลอดปี ทำให้ใบเหลืองร่วงหมดต้น แพร่กระจายไปอย่างรวดเร็ว จะพบอยู่เสมอในกุหลาบที่ปลูกเป็นแปลงขนาดใหญ่ โดยเฉพาะกุหลาบตัดดอกจะอ่อนแอต่อโรคนี้มากกว่ากุหลาบประเภทอื่น

ลักษณะอาการ

  • มักเกิดขึ้นที่ใบบริเวณโคนต้น ขึ้นไปจนถึงบริเวณยอดใบ
  • มีจุดกลมสีดำขนาดเล็กบริเวณผิวด้านบนของใบ และจะขยายขนาดใหญ่ขึ้นอย่างรวดเร็วหากอากาศมีความชื้นสูงและผิวใบเปียก เส้นผ่าศูนย์กลาง 0.5-2 เซนติเมตร
  • ภายในจดจะเห็นเส้นใยเป็นขุย ถ้าแผลเกิดขึ้นนานแล้วจะมีก้อนสีดำเล็กๆกระจายอยู่
  • หากเข้าใบจะทำให้ใบมีสีเหลืองและร่วงอย่างรวดเร็ว
  • เมื่อเป็นมาก ต้นกุหลาบจะโทรม และอาจชะงักการเจริญเติบโต

สาเหตุ และการระบาด

  • ระบาดตลอดปี และระบาดรุนแรงในช่วงฤดูฝน โดยการปลิวของสปอร์ หรือน้ำชะกระเด็นจากต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง
  • สปอร์ของราบนใบแก่ที่ร่วงตามพื้นดิน ซึ่งจะอยู่ได้เป็นเวลานาน
  • สปอร์ที่สะสมตามง่ามกิ่ง
  • สปอร์จะพักตัวในความชื้นติดต่อกัน 6-8 ชั่วโมง ก็จะงอกเข้าไปในต้น
  • ต้นจะออกอกการให้เห็นภายใน 1 สัปดาห์
  • จุดที่อยู่บนใบจะขยยตัวกว้างออกไปอย่างรวดเร็ว

การป้องกัน

  • อ้างอิง case 1: ฉีดยาทุก 3 วันในช่วงที่อากาศชื้น หรือทุก 5-7 วันในช่วงสภาพอากาศปกติ
  • อ้างอิง case 1: ฉีดยาทุก 7 วันในช่วงฤดูฝน และทุก 15 วันในช่วงฤดูร้อน
  • ยาที่ใช้ได้ผล: ดาโคนิล แคปแทน คูปราวิต มาเนบ ไซเนบ เบนเลท ไตรโฟรีน เฮ็กซาโคนาโซลม คลอโรธาโลนิล
  • หลีกเลี่ยงการรดน้ำจนใบเปียกชุ่ม
  • เด็ดและเผาทำลายใบที่มีอาการ เพราะใบที่เป็นแล้วไม่สามารถรักษาใบที่เป็นโรคนี้ให้หายได้
  • หากเป็นมากทั้งต้นเกินเยียวยาควรนำทั้งต้นไปเผาทำลาย
  • ทำให้ลักษณะต้นโปร่งมีอากาศถ่ายเท
  • เก็บใบแห้งบนพื้นดินให้หมด ทำความสะอาดแปลงปลูกอย่างสม่ำเสมอ
  • ถ้าต้นเพิ่งโดนฝนในช่วงกลางวัน ให้ฉีดน้ำล้างต้น และพ่นยาโดยพยายามให้ใบแห้งก่อนค่ำ
Tags: